11 สิงหาคม 2550

อนาคตเด็กไทย ก้าวใหม่ในไซเบอร์ ตอน 2

อนาคตเด็กไทย ก้าวใหม่ในไซเบอร์ ตอน 2

ตั้งใจจะเขียนต่อตั้งแต่วันก่อน แต่บังเอิญมีเรื่องแทรก เป็นผลพวงจากการดู TV เรื่องผลไม้ราคาถูก เลยต้องออกความเห็นซะหน่อย พอหอมปากหอมคอ ตามประสาคนมือบอน (ไม่รู้ว่าใจบอนด้วยหรือเปล่า)

เข้าเรื่อง......ตบท้ายไว้ตอนก่อน ว่าจะเขียนถึงการเรียนการสอนของครู การบริหารงานของโรงเรียน จะเปลี่ยนไปให้ทันเทคโนโลยีได้อย่างไร
เมื่อวันที่ 4-5 ส.ค. 2550 ได้มีโอกาสจัดอบรมปฏิบัติการเรื่องการใช้ Google Apps ที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย โดยเชิญผู้สันทัดกรณีเกี่ยวกับ Google Apps โดยตรง มีนามกรว่า ชีพธรรม คำวิเศษ มาเป็นวิยากร จากการได้นั่งฟังก็ทำให้รู้สึกว่าเราคงตามเทคโนโลยีไม่ทันเอาซะแล้ว ทั้ง ๆ ที่การงานในหน้าที่ มีหน้าที่ที่ต้องตามเทคโนโลยี หาแนวทางที่จะนำมาประยุกต์ใช้ให้ได้มากที่สุด.....

โดยปกติเราใช้ Google กันเพียงแค่ ค้นหาข้อมูลที่ต้องการ ไม่เคยได้สนใจเรื่องอื่น ๆ ของ Google เลย ซึ่งจริง ๆ แล้ว Google มีมากกว่าที่เราเคยใช้ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารงานโรงเรียน และปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดียิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นของฟรี

จะเกริ่นอย่างคร่าว ๆ เกี่ยวกับการประยุกต์เอา Google Apps มาใช้ในโรงเรียน โดยแยกเป็น 2 ประเด็น คือ
1. สิ่งที่น่าจะนำมาใช้ในระบบการบริหารงานในโรงเรียน Googel มีระบบ e-Mail ให้ใช้ในนามของ gmail ซึ่งถ้าเป็นส่วนบุคคลก็ใช้เหมือนกับ mail ทั่ว ๆ ไป แต่สิ่งที่มีมากกว่า mail ทั่ว ๆ ไปก็คือ โรงเรียนสามารถขอใช้ระบบ email ในนามของโรงเรียนได้ เช่น account@schoolname.ac.th และนำมาจัดเป็น group ให้กับนักเรียนและครูทั้งโรงเรียนได้ ผู้บริหารสามารถส่ง mail ทีเดียวให้แก่ครู แต่ละกลุ่ม หรือเลือกส่งเฉพาะกลุ่มได้ หรือสามารถใช้ docs&spreadsheet สำหรับจัดส่งเอกสารให้ครูหรือผู้ใดก็ได้โดยไม่ต้องแนบไฟล์เหมือนแต่ก่อน อีกทั้งยังสามารถกำหนดสิทธิ์ให้ผู้รับได้แก้เอกสารนั้น ๆ ได้อีกด้วย ผู้บริหารหรือครู สามารถใช้ calenda หรือปฏิทิน เพื่อบันทึกรายการปฏิบัติงานต่าง ๆ พร้อมทั้งสามารถแชร์ ให้ผู้อื่นดูได้ด้วยว่าในแต่ละเดือนแต่ละวันมีงานอะไรต้องทำ วันไหนว่าง วันไหนไม่ว่าง ทุกอย่างอยู่บนอินเทอร์เน็ต ไม่มีกระดาษ ไม่มีไฟล์ที่ต้องแนบ ไม่ต้องใช้ HandyDrive มาเสียบเครื่องอีกต่อไป ปลอดภัยจากไวรัสทั้งปวง แถมยังสามารถสร้าง weblog แสดงวิสัยทัศน์ทางด้านบริหารได้อีกด้วย

2. การประยุกต์ใช้สำหรับการเรียนการสอน ครูสามารถฝึกผนให้นักเรียนทำงานอย่างเป็นระบบ มีระบบการจัดการ email ให้แก่นักเรียนทุกคน โดยสามารถแบ่งเป็นหมวดหมู่ เป็นระดับชั้น เป็นรายวิชา ตามที่ต้องการได้ มีระบบการจัดทำเอกสาร docs&spreadsheet มีปฏิทิน บันทึกการปฏิบัติงาน นักเรียนและครูสามารถสร้างแหล่งเรียนรู้ของตนเองได้ผ่าน weblog สามารถแชร์ความรู้กันได้ มีระบบการ Chat และ Talk ที่มีประสิทธิภาพ ถึงแม้ว่าเพื่อนจะไม่ได้ Online ก็สามารถฝากข้อความหรือคำพูดไว้ที่ระบบ และผู้ที่เราส่งข้อความจะได้รับเมื่อ Online นี่ยังไม่หมดนะครับแต่ขอประชาสัมพันธ์แค่นี้ก่อน

ทั้ง 2 ประเด็นที่กล่าวมา นับว่าจะให้ประโยชน์แก่วงการศึกษาเป็นอย่างมาก ถ้าเรามีผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ดี หรือมีครูที่รับผิดชอบทางด้านคอมพิวเตอร์ หรือ ICT ที่มีความมุ่งมั่นจะพัฒนางานในโรงเรียน

ผมประเมินไว้ว่า อีก 5-10 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะนำระบบ Online มาเป็นฐานในการปฏิบัติงานมากขึ้นจนถึง 80-90 % ของงานทั้งหมด และก็เชื่อว่าภาคเอกชน 90 % จำนำระบบลักษณะนี้มาใช้ในการบริหารงานของตนเอง ถ้าเราไม่พัฒนาหรือฝึกให้นักเรียนของเราคุ้นเคยกับระบบดังกล่าว อะไรจะเกิดขึ้นกับอนาคตของชาติ ทุกวันนี้เราก็เฝ้ามองประเทศเพื่อนบ้านเค้าเจริญไปอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะเวียดนาม ที่กำลังดีวันดีคืน และทิ้งห่างออกไปทุกที

ในตอนต้นได้เอ่ยนามถึงคุณ ชีพธรรม คำวิเศษ ท่านอาจจะสงสัยว่าเป็นใคร และถ้าต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้โดเมนเนมของโรงเรียนในรูป .ac.th ก็ลองเข้าไปดูได้ที่ thaiventureblog.blogspot.com และ thaiventure.com

สวัสดีครับ

ไม่มีความคิดเห็น: